นายบุญธรรม บุญมา
นายก อบต.ห้วยยาง

สายตรงนายก อบต.
โทรฯ 081-305-6326

 ฟอรัม  ข้อมูลทั่วไป  โครงสร้าง อบต ห้วยยาง  อำนาจ หน้าที่  วิสัยทัศน์ พันธกิจ  ผู้บริหาร อบต ห้วยยาง  สภา อบต ห้วยยาง กิจกรรมของ อบต ห้วยยาง กระดานข่าว อบต ห้วยยาง
 ส่วนราชการในสังกัด
 สำนักงานปลัด อบต.  กองคลัง  กองช่าง  ส่วนการศึกษาฯ กองทุน สปสช.อบต.ห้วยยาง ศูนย์พระมหาชนก อบต.ห้วยยาง
 เอกสารเผยแพร่
ประกาศ อบต.ห้วยยาง ประกาศ จัดซื้อจัดจ้าง ประกาศ สภาฯ อบต.ห้วยยาง กฏหมาย ระเบียบ บทความ เอกสารเผยแพร่ กฎหมาย ระเบียบของสภาฯ เอกสารดาวน์โหลด ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Master Plan) แนวปฎิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนพัฒนา 3 ปี แผนอัตรากำลังพนักงาน 3 ปี แผนอัตรากำลังพนักงานจ้าง 4 ปี แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) แผนพัฒนาท้องถิ้น (พ.ศ.2561-2565) แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนพัฒนาหมู่บ้าน
ข้อบัญญัติ อบต.
ข้อบัญญัติ อบต.ห้วยยาง
รายงาน
รายงานทางการเงิน รายงานผลการดำเนินงาน รายงานการประชุมสภา อบต. รายงานผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 รายงานผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ พ.ศ.2563 รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2564 รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง รายงานผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ 2565 รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตมิชอบ ฯลฯ
งานบริหารงานบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล รายงานการดำเนินงานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล พ.ศ.2564 แผนพัฒนาบุคลากร (พ.ศ.2564-2566) แผนอัตรากำลัง 3 ปี แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564-2566
ศูนย์บริการร่วม (one stop service) อบต.ห้วยยาง
ประกาศจัดตั้งศูนย์บริการร่วมฯ คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมฯ คำสั่งคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมฯ ระบบจองคิวขอรับบริการออนไลน์ ระบบขออนุญาตก่อสร้างฯ

ข้อมูล อบต.ห้วยยาง

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของอำเภอแกลง  โดยห่างจากอำเภอแกลงประมาณ 10 กิโลเมตร  ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  3  และถนนสุขุมวิท ตัดผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 1 , 4 , 6 และหมู่ที่  7  ของตำบลห้วยยาง  ปัจจุบันที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 6 บ้านชากตาด้วง ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

2.1 สภาพทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มีเนื้อที่ 43.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 27,000 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ              ติดต่อตำบลวังหว้า     อำเภอแกลง      จังหวัดระยอง

ทิศตะวันออก       ติดต่อตำบลเนินฆ้อ     อำเภอแกลง      จังหวัดระยอง

ทิศใต้                 ติดต่อตำบลสองสลึง    อำเภอแกลง      จังหวัดระยอง และตำบลชากโดน    อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง

ทิศตะวันตก        ติดต่อตำบลกะเฉด       อำเภอเมือง       จังหวัดระยอง และตำบลสำนักทอง  อำเภอเมือง   จังหวัดระยอง

2.2 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขาด้านทิศตะวันตกของอำเภอแกลง

2.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ช่วงฤดูร้อน         ระหว่าง เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน

ช่วงฤดูฝน          ระหว่าง เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม

ช่วงฤดูหนาว      ระหว่าง เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ

ภูเขา ที่สำคัญ  ได้แก่  ภูเขาชากกรูด  ภูเขาห้างญวน  ควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น

-  คลองคา                        ผ่านหมู่ที่ 1,6,7     ยาวประมาณ   2,500   เมตร

-  คลองน้ำเขียว                 ผ่านหมู่ที่ 2           ยาวประมาณ   3,000   เมตร

-  คลองห้างญวณ              ผ่านหมู่ที่ 5,9        ยาวประมาณ   3,000   เมตร

-  คลองหลอด                   ผ่านหมู่ที่ 3           ยาวประมาณ   1,500   เมตร

-  คลองวังด้วน                  ผ่านหมู่ที่ 4           ยาวประมาณ   1,200   เมตร

-  คลองวังหิน                   ผ่านหมู่ที่  3,4,6,8  ยาวประมาณ    5,000  เมตร

-  คลองประชาสงเคราะห์   ผ่านหมู่ที่ 6          ยาวประมาณ   1,200   เมตร

-  คลองเต้าปูนหาย           ผ่านหมู่ที่ 5,9        ยาวประมาณ     1,000  เมตร

- คลองวังหว้า                  ผ่านหมู่ที่ 2,5,9     ยาวประมาณ       5,000 เมตร

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เช่น อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ บ่อโยก บ่อน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค สระน้ำสาธารณะ ดังนี้

1. สระน้ำสาธารณะบ้านนายแจ้ง                        หมู่ที่ 1 ขนาด 70x80x6 เมตร

2. สระน้ำสาธารณะบ้านนายสอน                        หมู่ที่ 1 ขนาด 60x80x6 เมตร

3. สระน้ำสาธารณะบ้านคลองคา                        หมู่ที่ 1 ขนาด 60x80x6 เมตร

4. สระน้ำสาธารณะบ้านน้ำเขียว                         หมู่ที่ 2 ขนาด 60x80x6 เมตร

5. สระน้ำสาธารณะบ้านห้วยยาง                         หมู่ที่ 3 ขนาด 100x200x6 เมตร

6. สระน้ำสาธารณะสุดใจ                                   หมู่ที่ 3 ขนาด 70x80x6 เมตร

7. สระน้ำสาธารณะบ้านนายแป๊ด                        หมู่ที่ 3 ขนาด 70x80x6 เมตร

8. สระน้ำสาธารณะชลประทาน (มาบคลุ้ม-หินลับ)  หมู่ที่ 3 ขนาด 100x100x6 เมตร

9. สระน้ำสาธารณะบ้านนายอำนวย                      หมู่ที่ 3 ขนาด 60x70x6 เมตร

10. สระน้ำสาธารณะบ้านเขาชากกรูด                   หมู่ที่ 4 ขนาด 80x80x6 เมตร

11. สระน้ำสาธารณะบ้านห้างญวณ (สระที่ 1)       หมู่ที่ 5 ขนาด 100x120x6 เมตร

12. สระน้ำสาธารณะบ้านห้างญวณ (สระที่ 2)       หมู่ที่ 5 ขนาด 100x120x6 เมตร

13. สระน้ำสาธารณะบ้านห้างญวณ (สระที่ 3)       หมู่ที่ 5 ขนาด 100x120x6 เมตร

14. สระน้ำสาธารณะบ้านชากตาด้วง                   หมู่ที่ 6 ขนาด 60x60x6 เมตร

15. สระน้ำสาธารณะ รพช.                                 หมู่ที่ 8 ขนาด 80x100x6 เมตร

16. สระน้ำสาธารณะบ้านชากพรวด (สระที่ 1)       หมู่ที่ 8 ขนาด 100x200x6 เมตร

17. สระน้ำสาธารณะบ้านชากพรวด (สระที่ 2)       หมู่ที่ 8 ขนาด 70x80x6 เมตร

18. สระน้ำสาธารณะบ้านท่ามะกัก (สระที่ 1)        หมู่ที่ 9 ขนาด 90x90x6 เมตร

19. สระน้ำสาธารณะบ้านท่ามะกัก (สระที่ 2)        หมู่ที่ 9 ขนาด 80x80x6 เมตร

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นและสามารถใช้การได้ ประกอบด้วย

-  ฝาย                 จำนวน                23           แห่ง

-  บ่อน้ำตื้น          จำนวน           1,021            แห่ง

-  บ่อบาดาล        จำนวน                23           แห่ง

-  บ่อโยก            จำนวน                16           แห่ง

-  สระน้ำ             จำนวน                  6           แห่ง

ทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย

-  เขตพื้นที่ป่าไม้อนุรักษ์ ป่าชุมชน

-  เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ

-  เขตคงสภาพป่าไม้นอกเขตป่าตามกฎหมาย

2.5 การประกอบอาชีพ

ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด  ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง

2.6 เขตการปกครอง

ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  9  หมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้าน

1

บ้านคลองคา

- นายทรงศักดิ์ สุนทรเวชพงษ์

2

บ้านน้ำเขียว

- นายสุชาติ เจริญรื่น

3

บ้านห้วยยาง

- นายนิพนธ์ เสาวคนธ์

4

บ้านเขาชากกรูด

- นายจรัล ปฏิบัติ

5

บ้านห้างญวณ

- นายกมล สุรกิจ

6

บ้านชากตาด้วง

- นายเทวัญ เทพารักษ์

7

บ้านเนินดินแดง

- นายวิชัย แสงวงศ์กิจ (กำนัน)

8

บ้านชากพรวด

- นายประมาณ แข่งขัน

9

บ้านท่ามะกัก

- นายสมบัติ คล้ายคลึง


จำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากรภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  มีดังนี้

หมู่ที่

จำนวนครัวเรือน

(ครัวเรือน)

จำนวนประชากร

(คน)

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

1

281

742

374

368

2

108

317

150

167

3

113

289

141

148

4

168

329

158

171

5

165

460

225

235

6

207

462

230

232

7

178

462

218

244

8

105

302

150

152

9

93

309

139

170

รวม

1,418

3,672

1,785

1,887

ประชากรมีความหนาแน่นเฉลี่ย  85  คน/ตารางกิโลเมตร

2.7 การศึกษา

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มีสถานที่สำหรับการศึกษาและสถานที่สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประกอบด้วย

1) โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง ได้แก่

   1. โรงเรียนวัดคงคาวราราม  ตั้งอยู่หมู่ที่  1

   2. โรงเรียนบ้านห้วยยาง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลห้วยยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

3) โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนห้วยยางศึกษา ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

4) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 9 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1-9 ตำบลห้วยยาง   และ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางอีก 1 แห่ง รวมเป็น 10 แห่ง

5) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง   ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

6) จุดบริการอินเตอร์เน็ตตำบล ตั้งอยู่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

7) การศึกษาตามอัธยาศัยตำบลห้วยยาง (กศน.)  ตั้งอยู่ที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

2.8 การศาสนา

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

มีศาสนสถานซึ่งเป็นวัดจำนวน  2  แห่ง  คือ

1. วัดคงคาวราราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

2. วัดห้วยยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

มีสำนักสงฆ์จำนวน 1 แห่ง คือ สำนักสงฆ์เนินทราย 2  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

2.9 ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม

ประชาชนส่วนใหญ่ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อกันมา เช่น การทำบุญตักบาตรในวันและเทศกาลสำคัญต่างๆ วันสำคัญทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่สำคัญที่ยังคงดำรงรักษาไว้ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ฯลฯ

2.10 การสาธารณสุข

มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองคา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7

2.11 การคมนาคม

มีถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านได้ทุกหมู่บ้านและมีถนนที่สามารถเชื่อมต่อกับตำบลอื่นๆ ได้ทุกตำบล  ส่วนถนนภายในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  แบ่งเป็น

-   ทางเหลวงแผ่นดิน  หมายเลข  3  คือ  ถนนสุขุมวิท  ผ่านตำบล

-   ทางหลวงชนบท  จำนวน  3  สาย  ได้แก่

1.  สายสุขุมวิท-ห้างญวน                 สภาพลาดยาง

2.  สายสุขุมวิท-เขาหินแท่น             สภาพลาดยาง

3.  สายห้วยยาง-เนินหย่อง              สภาพลาดยาง

-  ทางถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 7 สาย ได้แก่

หมู่ที่  1          จำนวน           1        สาย

หมู่ที่  2          จำนวน           1        สาย

หมู่ที่  3          จำนวน           1        สาย

หมู่ที่  6          จำนวน           2        สาย

หมู่ที่  7          จำนวน           2        สาย

-  ถนนตามแนวทางสาธารณะประโยชน์  จำนวน  68  สาย  ได้แก่

หมู่ที่  1          จำนวน           6        สาย

หมู่ที่  2          จำนวน           4        สาย

หมู่ที่  3          จำนวน           9        สาย

หมู่ที่  4          จำนวน           9        สาย

หมู่ที่  5          จำนวน           13      สาย

หมู่ที่  6          จำนวน           8        สาย

หมู่ที่  7          จำนวน           3        สาย

หมู่ที่  8          จำนวน           8        สาย

หมู่ที่  9          จำนวน           8        สาย

สำหรับเส้นทางเชื่อมระหว่างหมู่บ้านสภาพเป็นลูกรังโดยส่วนมาก

2.12 การสื่อสาร/โทรคมนาคม

มีตู้โทรศัพท์สาธารณะภายในตำบลยังมีจำนวนน้อยแห่ง    จึงทำให้ประชาชนได้รับการบริการยังไม่ทั่วถึง  แต่ในปัจจุบันประชาชนในเขตตำบลห้วยยาง มีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลายเนื่องจากมีความสะดวกในการใช้งานและราคาไม่สูงมาก  มีบริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์คู่สายปกติ  และติดตั้งระบบโทรศัพท์สาธารณะผ่านดาวเทียม  จำนวน  8 แห่ง ได้แก่

หมู่ที่  3    จำนวน    1   แห่ง

หมู่ที่  5    จำนวน    1   แห่ง

หมู่ที่  6    จำนวน    1   แห่ง

หมู่ที่  7    จำนวน    3   แห่ง

หมู่ที่  9    จำนวน    2   แห่ง

2.13 การประปา

มีระบบประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภคครบทั้ง  9 หมู่บ้าน  ครอบคลุมครัวเรือนในตำบล  คิดเป็นร้อยละ 96 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล

2.14 การไฟฟ้า

อยู่ในการควบคุมดูแลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแกลง   ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน แต่ยังประสบปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอบางจุด ในหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1, 3, 5 และหมู่ที่ 8

2.15 สภาพทางเศรษฐกิจ

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง มีพื้นที่รวมประมาณ  27,000  ไร่  แบ่งเป็นพื้นที่การเกษตรกรรม  23,058  ไร่   ป่าไม้  2,535  ไร่   ทุ่งหญ้า  938  ไร่   แหล่งน้ำ  183  ไร่  และที่อยู่อาศัย  286  ไร่  แบ่งประเภทผู้ประกอบอาชีพ  ดังนี้

-  อาชีพทำสวน       คิดเป็นร้อยละ    60

-  อาชีพรับจ้าง        คิดเป็นร้อยละ    31

-  อาชีพค้าขาย       คิดเป็นร้อยละ    5

-  รับราชการ           คิดเป็นร้อยละ    4

การเกษตรกรรม

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  มีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น  23,058 ไร่ การปลูกพืชทางการเกษตร จำแนกได้ดังนี้

-  ยางพารา      15,922 ไร่                 - ทุเรียน                    5,519 ไร่

-  มังคุด               360 ไร่                 - เงาะ                       268 ไร่

-  ลองกอง            250 ไร่                 - มะพร้าว                    210 ไร่

-  ลางสาด            200 ไร่                 - มะม่วง                        90 ไร่

-  สับปะรด             80 ไร่                - ผัก                            80  ไร่

-  ขนุน                  35 ไร่                - มันสำปะหลัง                 30  ไร่

-  กระท้อน               9 ไร่               - พริกไทย                        5 ไร่

การปศุสัตว์

การเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างเลี้ยงจากบริษัทเอกชนเป็นงวด ๆ ได้แก่  ไก่ (เนื้อ ไข่ พื้นเมือง) จำนวนประมาณ     50,000 ตัว เป็ด จำนวนประมาณ 10,000 ตัว และฟาร์มสุกรอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 จำนวน 1 แห่ง มีสุกรจำนวนประมาณ 3,000 ตัว

การอุตสาหกรรมและการพาณิชย์

มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการจำนวน 14 แห่ง  ตั้งอยู่ที่

-  หมู่ที่ 1        จำนวน  1 แห่ง            - หมู่ที่ 3         จำนวน  1 แห่ง

-  หมู่ที่ 4        จำนวน  1 แห่ง            - หมู่ที่ 5         จำนวน  1 แห่ง

-  หมู่ที่ 6        จำนวน  5 แห่ง            - หมู่ที่ 7         จำนวน  5 แห่ง

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง

-  ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                จำนวน    2 แห่ง

-  โรงงานอุตสาหกรรม             จำนวน  14 แห่ง

-  กลุ่มออมทรัพย์                   จำนวน    9 แห่ง

2.16 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ตำบลห้วยยางอยู่ในเขตพื้นที่การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรอำเภอแกลง  มีศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง จำนวน 1 ศูนย์   และยังมีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครตำรวจตำบล การจัดชุดเวรยามประจำหมู่บ้านจากอาสาสมัครต่างๆ คอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่

ด้านงบประมาณ งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง  แยกเป็น

1. งบประมาณรายได้ (ประมาณการปี 2555)  จำนวน 19,980,000 บาท  รับจาก

- รายได้จากภาษีอากร                             1,219,900      บาท

- ค่าธรรมเนียมค่าปรับและใบอนุญาต           239,100     บาท

- รายได้จากทรัพย์สิน                                100,000     บาท

- เงินอุดหนุนจากรัฐบาล                       18,400,000     บาท

- รายได้เบ็ดเตล็ด                                       21,000    บาท

2. งบประมาณรายจ่าย (ประมาณการปี 2555) จำนวน 19,980,000 บาท ใช้จ่ายในด้าน

- งบกลาง                                              820,840       บาท

- งบบุคลากร                                      6,155,760       บาท

- งบดำเนินการ                                   6,166,800       บาท

- งบลงทุน                                         4,611,400       บาท

- งบเงินอุดหนุน                                 2,215,200      บาท

- งบรายจ่ายอื่น                                      10,000      บาท